วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คู่มือการดูแลรักษา Clarinet

คู่มือการดูแลรักษา Clarinet

1. ส่วนประกอบของตัวเครื่อง
1. ปากเป่า2. Barrel3. ข้อต่อบน4. ข้อต่อล่าง
5. กระเดื่อง6. ปากแตร7. ที่รัดปากเป่า8. คอปากเป่า
2. ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
โดยทั่วไป Clarinet ของ YAMAHA ผลิตจากไม้ Grenadilla หรือ ในบางรุ่นผลิตจาก พลาสติก
(ABS resin) สำหรับ รุ่นที่ ผลิตจาก ไม้นั้น จะง่าย ต่อการแตกร้าว หากโดน สภาพอากาศ ที่มี
การเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิ และ ความชื้น อย่างฉับพลันอยู่เสมอ ๆ ดังนั้น จึงขอแนะนำวิธี
การดูแลรักษาเครื่อง เพื่อยืดอายุการใช้งานดังนี้
1.ไม่ควรทิ้งเครื่องไว้กลางแดดหรือ โดนฝน หรือทิ้งเอาไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง
(ร้อน) เป็นเวลานาน ๆ
2.เช็ดเครื่องให้แห้งทันทีภายหลังใช้เครื่อง
3.สำหรับเครื่องใหม่ การเป่าครั้งแรกไม่ควรใช้เวลานาน พยายามเริ่มต้นในระยะแรก
ด้วยการใช้เวลาในการเป่าแต่ละครั้งเท่า ๆ กัน เพื่อให้เนื้อไม้ได้ปรับตัว
3. วิธีประกอบเครื่อง
Eb Soprano Clarinet
1.ทาขี้ผึ้งสำหรับไม้ก๊อก (Cork Grease) บริเวณข้อต่อส่วนที่เป็นไม้ก๊อกตามรูป
2.ประกอบปากแตร และ Barrel เข้ากับตัวเครื่อง
3.ประกอบปากเป่าเข้ากับ Barrel
Bb และ A Clarinet
1.ประกอบ Barrel เข้ากับข้อต่อบน และ ปากแตรเข้ากับข้อต่อล่าง
2.ใช้มือซ้ายจับข้อต่อบน โดยมือขวาจับข้อต่อล่าง ค่อย ๆ หมุนจนประกอบเข้ากันได้สนิท
3.ประกอบปากเป่าเข้ากับ Barrel
4.ในการประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้แรงกด
กระเดื่องมากจนเกินไป
Auto และ Bass Clarinet
1.ใช้มือซ้ายจับข้อต่อบน โดยมือขวาจับข้อต่อล่าง ค่อย ๆ หมุนจนประกอบกันได้สนิท
2.เสร็จแล้วประกอบคอปากเป่า และปากแตรเข้ากับตัวเครื่อง
3.เฉพาะ Bass Clarinet ให้ประกอบคอปากเป่าเข้ากับข้อต่อบน
ขั้นตอนการประกอบลิ้นเข้ากับปากเป่า
1.ประกอบปากเป่าเข้ากับคอปากเป่า
2.ประกอบลิ้นเข้ากับปากเป่า โดยให้ปากเป่าเหลื่อมออกมาเล็กน้อย ตามรูป
ยึดลิ้นด้วยที่รัดปากเป่าให้แน่น
4.วิธีการเทียบเสียง
เนื่องจากอุณหภูมิมีผลต่อระดับเสียง (Pitch) ดังนั้น ก่อนที่จะทำการเทียบเสียงให้อบอุ่น
เครื่องด้วยการเป่าลมเข้าไปในเครื่องสักพัก แล้วจึงทำการเทียบเสียง ตามรูป
ซึ่งแต่ละเครื่องจะต่างกันดังนี้
1.Eb, Bb และ A Clarinet ให้ดึง Barrel (หมายเลข 2) ออกจากข้อต่อบน (หมายเลข 3)
2.Alto Clarinet ให้ดึงคอปากเป่า (หมายเลข 8) ออกจากตัวเครื่อง
3.Bass Clarinet ให้ดึงคอปากเป่าด้านบน
5.การดูแลรักษาเครื่อง
ทุกครั้งภายหลังจากการใช้เครื่อง ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.ถอดลิ้นออกจากปากเป่า เช็ดให้แห้ง เสร็จแล้วเก็บลิ้นเข้ากล่องให้เรียบร้อย
2.เช็ดทำความสะอาดปากเป่าให้แห้ง โดยใช้ผ้าหยอดทำความสะอาด (Cleaning Swab)
สอดเข้าทางด้านไม้ก๊อก ตามรูป 5-1
3.ถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกจากกันเสร็จแล้วทำความสะอาดภายในด้วยการสอดผ้าหยอดทำ
ทำความสะอาด เจ้าทางข้อต่อบน เช็ดให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณข้อต่อที่เป็นไม้ก๊อก
รูป 5-2สำหรับชิ้นส่วนอื่นก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
4.ซับความชื้นออกจากนวม ด้วยการนำกระดาษซับนวม (Cleaning Paper)
สอดเข้าระหว่างรูเสียงกับนวม แล้วกดแป้นหรือ กระเดื่องของนวมนั้นหลาย ๆ
ครั้งจนนวมแห้ง
5.เช็ดทำความสะอาดภายนอกด้วยผ้า Polishing cloth, แต่ถ้ากระเดื่องสกปรกมากก็ให้ใช้
ผ้าชุบน้ำยา Silver Polish ทำการขัดคราบสกปรกออก แต่ไม่ควรใช้น้ำยาขัดเงินทำ
ความสะอาดผิวไม้ สำหรับบริเวณที่ผ้าเข้าไม่ถึง และบริเวณรูเสียง ให้ใช้ลวดสักหลาด
(Tone hole cleaner) ทำความสะอาด ตามรูป 5-3
6.นำผ้าหยอดทำความสะอาดมาชุบน้ำมันรักษาเนื้อไม้ (Bore Oil) เพียงเล็กน้อยแล้วสอด
เข้าไปในเครื่องหลาย ๆ ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำมันเปื้อนนวม เพราะจะทำให้นวมแห้งและ
แข็ง น้ำมันรักษาเนื้อไม้จะป้องกันไม่ให้ไม้เกิดการแตกร้าว หรือ บิดเบี้ยวได้

ที่มาของข้อมูล

โคลงสร้างและประเภทของทรัมเป็ต

โครงสร้างของทรัมเป็ต
ทรัมเป็ตประกอบด้วยทองเหลือง งอสองครั้งคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งทรัมเป็ตและทรอมโบนมีส่วน Bore ที่ลักษณะเป็นทรงกระบอกเพื่อเสียงที่ใสและดังกังวาน Bore เป็นส่วนที่ค่อนข้างซับซ้อนมาก เล็กที่สุดที่ส่วนประกอบเมาท์พีซและใหญ่สุดที่ปลายของ Bell ที่แผ่ออก การออกแบบที่ซับซ้อนและระมัดระวังนี้ก็เพื่อคุณภาพเสียงสูงต่ำของเครื่องดนตรี ถ้าจะให้เปรียบเทียบ Cornet และ Flugelhorn มี bore ที่ค่อนข้างจะเป็นทรงกรวยมากกว่าจึงให้เสียงที่สุขุมมากกว่า ขนาดของ bore อยู่ระหว่าง 0.430 – 0.472 นิ้ว มีขนาดกลาง ค่อนข้างใหญ่ และใหญ่ แล้วแต่ผู้ผลิตแต่ละราย


ลักษณะของลูกสูบ

เหมือนกับเครื่องทองเหลืองอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านริมฝีปากที่เม้มบาง ทำให้เกิดเสียงเหมือนผึ้งร้องหึ่งๆ จากกำพวด ทำให้เกิดกระแสอากาศข้างในเครื่อง ผู้เล่นสามารถกำหนดระดับเสียงโดยการเปลี่ยนช่องที่ริมฝีปาก และแรงดัน (เรียกว่า Embouchure) เมาท์พีซมีขอบเป็นวงกลมซึ่งสะดวกต่อการสั่นสะเทือนเมื่ออยู่ติดกับริมฝีปาก ตรงขอบเป็นรูปถ้วยที่ช่องอากาศเล็กมาก ซึ่งส่วนปลายจะพอดีที่จะใส่เข้าไปกับตัวเครื่อง ทั้งสามส่วนของเมาท์พีซมีผล ต่อเสียงและคุณภาพเสียง ความยากง่ายของการเล่น และความสบายของคนเป่า โดยทั่วไปแล้วยิ่งกว้างและลึกเท่าไหร่ เสียงที่ได้ก็จะยิ่งทึบมากขึ้นเท่านั้น


โครงสร้างของทรัมเป็ต

Modern Trumpet มี 3 ลูกสูบ (Piston) แต่ละอันจะเพิ่มระยะของทางเดินลมเมื่อกดลงไป ลูกสูบอันแรกลดระดับเสียงลง 1 เสียง อันที่สองครึ่งเสียง อันสุดท้ายเสียงครึ่ง ถ้ามีอันที่ 4 ด้วยมันก็จะลดลงไปถึงสองเสียงครึ่ง การใช้ลูกสูบพวกนี้ทำให้ผลิตเสียงทุกระดับได้อย่างสมบูรณ์
เสียงของเครื่องยังอาจจะปรับสูงขึ้นหรือต่ำลงได้จากการเลื่อนท่อจูนเสียง ถ้าดึงออกเสียงจะต่ำลง ดันเข้าเสียงจะสูงขึ้น เพื่อลดปัญหาเสียงเพี้ยนโดยไม่ใช้สไลด์ Renold Schilke จึงออกแบบ Tuning-bell Trumpet โดยปรับให้ส่วนของ Bell เลื่อนเข้าออกได้ เป็น Sliding Bell ผู้เล่นควรจูนเสียงขณะที่สไลด์ไม่ได้เลื่อน หรือใกล้เคียง
เสียงจะดังออกมาทาง Bell ทรัมเป็ตในปัจจุบันมีการนำวัสดุหลายชนิดมาทำ Bell ทั้ง Yellow-brass, red-brass, copper ยิ่งชนิดของ Brass สีเข้มขึ้นเท่าไหร่เสียงก็ยิ่งนุ่มเท่านั้น

ประเภทของทรัมเป็ต
ทรัมเป็ตที่ธรรมดาที่สุดก็คือ Bb ทรัมเป็ต แต่ก็มีพวก F, C, D, Eb, E, G เหมือนกัน C ทรัมเป็ตมักเล่นในวงออร์เคสตราของอเมริกันร่วมกับแบบ Bb ด้วยขนาดที่เล็กทำให้เสียงค่อนข้างแจ่มชัดกว่า ดูมีชีวิตชีวากว่า เพราะโน้ตสำหรับทรัมเป็ตในยุคก่อนเหมาะสำหรับทรัมเป็ตที่ตัวนึงเป็นเสียงนึงเลย ก็เมื่อก่อนมันไม่มีลูกสูบนี่ ก็เลยเปลี่ยนระดับเสียงไม่ได้ เพราะงั้นคนเล่นก็เลยต้องเลือกเล่นเฉพาะส่วนในแต่ละเพลง นักเล่น Orchestra trumpet จะต้องเทพในการทรานสโพสโน้ตด้วยการมอง เพราะบางครั้งโน้ตเขียนโดยยึด Bb บางครั้งก็ C


Trumpet in C with Rotary valves

ช่วงเสียงของทรัมเป็ตเริ่มจาก F# ใต้ Middle C จนขึ้นไปอีก 3 Octaves บทเพลงทั่วไปที่คุ้นหูจะไม่มีโน้ตที่อยู่นอกเหนือจากช่วงนี้ และตารางนิ้ว ก็จะเขียน C ที่สูงกว่า Middle C สอง Octaves เป็นตัวสุดท้าย นักทรัมเป็ตหลายๆ คนวัดระดับความเก่งของตัวเองจากตัวที่สูงที่สุดที่พวกเขาเป่าได้ ไม่ว่าจะเป็น Lew Soloff, Andrea Tofanelli, Bill Chase, Maynard Ferguson, Roger Ingram, Wayne Bergeron, Anthony Gorruso, Dizzy Gillespie, Jon Faddis, Cat Anderson, James Morrison, Doc Severinsen and Arturo Sandoval หรือบางทีเราก็อาจจะลองเป่าเสียงที่ต่ำกว่า F# ก็ได้
ทรัมเป็ตที่เล็กที่สุดเรียกว่า Piccolo trumpet มักจะเล่นในคีย์ Bb หรือ A และมี leadpipes แยกต่างหากแต่ละคีย์ Piccolo trumpet จะมีความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของทรัมเป็ตปกติ แบบ G F หรือ C ก็มีแต่หายากกว่า ผู้เล่นหลายคนจะใช้เมาท์พีซที่เล็กกว่าปกติ ซึ่งจะให้เสียงและต้องใช้เทคนิคที่ต่างไป ปกติแล้ว Piccolo trumpet จะมีลูกสูบ 4 อัน ซึ่งจะลดระดับเสียงได้มากกว่า ตัวอย่างคนที่เล่นคือ Maurice André, Håkan Hardenberger, และWynton Marsalis


Piccolo trumpet in Bb

ทรัมเป็ตในคีย์ G ต่ำเรียกว่า Sopranos หรือ Soprano Bugles หลังจากที่ใช้ในกองทัพ ตอนนี้ก็ใช้กับวง drum and bugle แทน Sopranos มีทั้งลูกสูบแบบ Rotary และ Piston ใน 1 เครื่อง


Military Bugle in Bb

ส่วน Bass ทรัมเป็ต มักถูกเล่นโดยนักทรอมโบน เพราะเสียงมันเหมือนกัน ใช้เมาท์พีซของทรอมโบนที่ตื้นกว่า และอ่านโน้ตจาก กุญแจซอล


Bass trumpet in C with Rotary valves

อีกชนิดที่น่าสนใจคือ Slide trumpet ก็เป็นตระกูลบีแฟลตที่มีสไลด์ เหมือนกัน Soprano trombone สไลด์ทรัมเป็ตเครื่องแรกสุดเกิดขึ้นในยุคเรเนอซองส์ ช่วงที่เค้ากำลังเห่อทรอมโบนน่ะแหละ และเป็นการเพิ่มความยิบย่อยของเสียงลงไปอีก ทรัมเป็ตชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ได้รับอนุญาตให้เล่นในโบสถ์คริสเตียน



เรื่องราวสไลด์ของทรัมเป็ตนี้เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 14 เพื่อใช้ในวงดนตรี Alta Capella สไลด์ทรัมเป็ตในยุคเรเนอซองส์ก็คือทรัมเป็ตปกตีที่มีสไลด์น่ะแหละ มันค่อนข้างจะเกะกะไม่สะดวกเท่าไหร่ แล้วช่วงเสียงของสไลด์ก็ไม่ได้กว้างเพียงพอ ก็อย่างที่รู้กันว่าเครื่องดนตรีในยุคนี้ไม่ค่อยจะอยู่ยืนยาวถึงปัจจุบัน ก็แบบเดียวกับสไลด์ทรัมเป็ตน่ะแหละ ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่าเหมาะและคุ้มค่ารึเปล่า สไลด์ทรัมเป็ตบางตัวยังพบในอังกฤษสมัยศตวรรษที่ 18
Pocket trumpet ก็คือบีแฟลตทรัมเป็ต ที่ bell เล็กกว่าปกติ ส่วนท่อจะติดกันแน่นกว่าเพื่อลดขนาดของเครื่องโดยไม่ลดความยาวท่อ ไม่มีรูปแบบเป็นมาตรฐานและคุณภาพก็แตกต่างกันมาก เสียงที่ออกมาค่อนข้างมีเอกลักษณ์
นอกจากนี้ยังมีทรัมเป็ตประเภท Rotary valve ทรัมเป็ตเยอรมัน Alto trumpet และทรัมเป็ตของยุคบาโรค
ทรัมเป็ตมักถูกสับสนกับคอร์เน็ต ซึ่งคอร์เน็ตจะมีท่อเป็นกรวยมากกว่า ทรัมเป็ตจะเป็นทรงกระบอก เพราะงั้นรอยต่อของคอร์เน็ตก็เลยให้เสียงที่สุขุมกว่า แต่อย่างอื่นก็แทบจะเหมือนกันหมด ท่อยาวเท่ากัน ระดับเสียงเหมือนกัน เพราะงั้นเพลงที่จะเล่นก็เล่นด้วยกันได้ อีกอันนึงคือ Flugelhorn ท่อเป็นกรวยมากกว่าคอร์เน็ต เสียงมีพลังกว่า บางครั้งก็มี 4 ลูกสูบอีกแล้ว


Cornet and Flugelhorn
ที่มาภาพและบทความ : http://musicforall.forumth.com/t50-topic
ทรัมเป็ต (Trumpet)

ทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ประเภทเครื่องลมทองเหลืองเสียงสูง (High Brass) ทรัมเป็ตถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่ง ย้อนไปตั้งแต่สมัย 1500 ปีก่อน ค.ศ. มันถูกสร้างขึ้นมาจากทองเหลืองหล่อเป็นท่อกลวง แล้วนำมางอ 2 ครั้ง เป็นลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า เล่นโดยเป่าลมเข้าไปในเครื่องโดยที่ริมฝีปากยังปิดอยู่ ปากเม้มตึง ทำให้เกิดเสียงหึ่งๆ เหมือนผึ้งร้อง (buzzing sound) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการสั่นสะเทือนของอากาศภายในทรัมเป็ต
ทรัมเป็ตมีหลายชนิด ที่ธรรมดาที่สุดคือ Bb ทรัมเป็ต ทรัมเป็ตรุ่นก่อนจะไม่มีลูกสูบ แต่สมัยปัจจุบันมีถึง 3 ลูกสูบ ซึ่งลูกสูบมี 2 ชนิด คือ Piston valves กับ Rotary valves แบบ Piston Valves จะนิยมและพบเห็นมากสุดในปัจจุบัน แต่ละลูกสูบจะเพิ่มระยะของท่อเมื่อกด ข้างในลูกสูบที่เราเห็นเป็น รูๆ เมื่อเรากดลูกสูบ กระแสลมจะผ่านคนละแบบตามแต่ระยะท่อ เสียงที่ออกมาจึงไม่เหมือนกัน ทรัมเป็ตเข้าได้กับดนตรีหลายประเภท ทั้งคลาสสิค และ แจ๊ส

ประวัติ


ทรัมเป็ตของเปรูโบราณ

ทรัมเป็ตยุคแรกเริ่มอยู่ในสมัย 1500 ปีก่อนคริสตกาล คือ ทรัมเป็ตบรอนซ์และเงินจากหลุมศพของตุตันคาเมนแห่งอียิปต์ Bronze lurs จากสแกนดิเนเวีย ทรัมเป็ตโลหะจากจีน หรือจากอารยธรรม Oxus (3 พันปีก่อนคริสตกาล) ทางเอเชียกลางมีการเพิ่มขนาดตรงส่วนกลางของเครื่องด้วย ทั้งที่ทำจากโลหะเพียงแผ่นเดียว ถือเป็นเทคนิคที่น่าทึ่งมาก ทรัมเป็ตในยุคก่อนมักจะใช้ในการทหารมากกว่าความเพลิดเพลิน และ Bugle ก็ตอบสนองจุดนี้ได้ดีทีเดียว
ในยุคกลาง นักทรัมเป็ตถือเป็นบุคคลสำคัญของกองทัพที่ต้องได้รับการอารักขาอยากเข้มงวด เพราะถือเป็นคนที่คอยส่งคำสั่งหรือข้อความให้กับกองกำลังอื่นๆ ในกองทัพ
การพัฒนารูปร่างของเครื่องดนตรีและชนิดของโลหะเริ่มขึ้นในช่วงท้ายของยุคกลาง และยุคเรเนอซองส์ ทำให้ทรัมเป็ตรุ่งเรืองขึ้นมาในฐานะ “เครื่องดนตรี” ทรัมเป็ตในยุคนี้มีเพียง 1 ขด ไม่มีลูกสูบ เพราะงั้นมันก็เลยเล่นได้อยู่เสียงเดียว กับ Octave ของมันเท่านั้น เวลาจะเปลี่ยนคีย์ก็ต้องเปลี่ยนเครื่อง และพัฒนามากขึ้นอีกในยุคบาโรค เรียกได้ว่าเป็น “ยุคทองของทรัมเป็ต” เลยทีเดียว ช่วงนี้เพลงถูกเขียนขึ้นมาสำหรับ Virtuoso trumpeters อีกครั้งในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 การเล่นทรัมเป็ตแพร่หลายไปทั่วโลก ผู้เล่นส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จก็ใช้ทรัมเป็ตที่ออกแบบมาในยุคบาโร้ค


ทรัมเป็ตในยุคบาโรค

มีความพยายามที่จะให้ทรัมเป็ตมีอิสระในการเล่นโน้ตมากขึ้น โดยสร้างเป็น Key Trumpet แต่ไม่ประสบความสำเร็จและไม่แพร่หลายนักเนื่องจากคุณภาพเสียงที่ยังไม่ดีพอ ถือว่าช้ามากกว่าที่จะมีการนำลูกสูบแบบใหม่มาใช้ (สร้างในกลางทศวรรษ 1830) และ Cornet ก็โด่งดังขึ้นมาในอีก 100 ปีให้หลัง ทั้ง Symphonies ของ Mozart, Beethoven และ Brahms ก็ยังคงใช้ทรัมเป็ตแบบ “ปกติธรรมดา” เล่นอยู่ Crooks หรือ Shanks คือ บูเกิลแบบเฟร้นช์ฮอร์นนั่นเอง ไม่มีทั้งปุ่มกดและลูกสูบ กลับเป็นเครื่องที่ดูได้มาตรฐานอย่างน่าสังเกตในฝรั่งเศสในต้นศตวรรษที่ 20 เพราะพัฒนาการของเครื่องประเภทนิ้มีน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องอื่นๆ เมื่อเข้าศตวรรษที่ 20 แล้ว เริ่มมีการเขียนเพลงสำหรับทรัมเป็ตอย่างหลากหลายและนิยมมากขึ้น

ประวัติของ คลาริเน็ต(clarinet)

Clarinet
คลาริเนต (Clarinet)
คลาริเนต เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า Chalumeau คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงคลาริเนต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นคลาริเนตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แปด
คำ Clarinet มาจากภาษาอิตาเลียน คลาริน่า-Clarina แปลว่า แตร ใส่คำวิเศษตามหลัง คือ - et แปลว่าเล็กๆ รวมเป็น คลาริเนต แปลว่า แตรอันเล็กๆ คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ทรงกระบอกตรง ลำโพงบานออก และมีที่เป่าเป็นลิ้นเดี่ยว เล่นโดยใช้นิ้วปิดเปิดรูและกดคีย์ต่างๆ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆ ให้เข้าไปภายในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น ลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันตามขนาดของท่อ ความสั้นยาวของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ
ชนิดของคลาริเนต
1. อีแฟลตคลาริเนต (Eb Clarinet) มีขนาดเล็กกว่าบีแฟลตคลาริเนต และมีระดับเสียงสูงกว่าบีแฟลตคลาริเนตคู่ 5 เพอร์เฟค
2. บีแฟล็ตคลาริเนต (Bb Clarinet) คลาริเนตในระดับเสียงบีแฟลตได้ถูกใช้เป็นตัวแทนเมื่อมีการกล่าวถึงคลาริเน็ตเสมอ
3. อัลโตคลาริเนต (Alto Clarinet) ขนาดใหญ่และยาวกว่าคลาริเนตอื่นๆ ระดับเสียงต่ำกว่าบีแฟลตคลาริเนตอยู่คู่ 5 เพอร์เฟกต์ ปากลำโพงทำด้วยโลหะ
โค้งงอย้อนขึ้นเหมือนแซกโซโฟน
4. เบสคลาริเนต (Bass Clarinet) ใช้ระบบการวางนิ้วชุดเดียวกับคลาริเนตบีแฟลตทุกอย่าง แต่เวลาเล่นจะมีเสียงต่ำกว่าบีแฟลตคลาริเนตอยู่ 1 คู่แปด
เหมาะที่จะนำไปใช้บรรเลงแนวทำนองในระดับเสียงต่ำ ลักษณะเด่นของเบสคลาริเนตอยู่ที่ข้อต่อ กำพวดจะเป็นรูปโค้งงอ ปากลำโพงทำด้วยโลหะ งอ
ย้อนขึ้นมาคล้ายกับแซกโซโฟน
 
ตัวอย่างวีดีโอการเล่นคลาริเนต

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สัดส่วนโน๊ต

บรรทัดห้าเส้น (อังกฤษ-อังกฤษ Stave, อังกฤษ-อเมริกิน Staff)

บรรทัดห้าเส้น
บรรทัดห้าเส้น (Stave, Staff))
   ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับบรรทัดห้าเส้นกันก่อน โดยบรรทัดห้าเส้นก็แปลตามตัวเลยครับ ก็คือ เส้นห้าเส้น เรียงขนานกัน ระยะห่างแต่ละเส้นเท่ากัน โดยเราจะเรียกเส้นล่างสุดคือเส้นเบอร์ 1 สูงขึ้นไป
  
บรรทัด 5 เส้นและกุญแจประจำหลัก
บรรทัด 5 เส้นเป็นบรรทัดที่ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตเพื่อบอกระดับเสียงสูงต่ำของเสียง โดยมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกันตามแนวนอน มี 5 เส้น 4 ช่อง การนับให้นับเส้นล่างสุดเป็นเส้นที่ 1 และช่องล่างสุดเป็นช่องที่ 1 เรียงตามลำดับขึ้นไปด้านบน
การบันทึกตัวโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้นสามารถบันทึกได้ 2 วิธีคือ บันทึกให้หัวตัวโน้ตคาบเส้นของบรรทัด 5 เส้นและบันทึกให้หัวตัวโน้ตอยู่ในช่องของบรรทัด 5 เส้น










เครื่องหมายกำหนดจังหวะ
 (Time Signature) มีลักษณะเป็นตัวเลข 2 ตัวที่เขียนซ้อนกันคล้ายเลขเศษส่วน หรือบางบทเพลงก็ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเลข ใช้เพื่อแสดงให้รู้ว่าจังหวะ(rhythm) และอัตราจังหวะ (meter) ของบทเพลงนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งจังหวะและอัตราจังหวะก็เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของบทเพลง ซึ่งในขณะบทเพลงดำเนินไป จังหวะและอัตราจังหวะก็จะต้องดำเนินไปให้สอดคล้องกับความเร็วของจังหวะ(tempo) ด้วย 

ความหมายของเลขตัวบนตัวล่าง

เลขตัวบน เป็นเลขที่กำหนดว่าบทเพลงจะแบ่งออกเป็นห้องละกี่จังหวะตามตัวเลขที่กำหนด

เลขตัวล่าง เป็นเลขที่กำหนดว่าโน้ตลักษณะใดจะเป็นเกณฑ์ตัวละ 1 จังหวะ